kaka00525@yahoo.com

วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2552

ประวัติของลูกเสือไทย



ผู้ให้กำเนิดกระบวนการลูกเสือ ประมุขคณะลูกเสือโลกบี.พี.เมื่อเป็นเด็ก บี.พี. ในอินเดีย การรบในแอฟริกา การล้อมเมืองมาฟอีคิง (The siege of mafeking) กำเนิดของการลูกเสือ หนังสือ Scouting for Boys ชีวิตที่สองของ บี.พี. ความเป็นพี่น้องทั่วโลก ( World Brotherhood ) บั่นปลายชีวิต
ผู้ให้กำเนิดกระบวนการลูกเสือ ประมุขคณะลูกเสือโลก
ถ้าท่านต้องการเข้าใจเรื่องลูกเสือโดยตลอด ท่านจำเป็นต้องรู้เรื่องราวบางอย่างเกี่ยวกับคนที่ได้ให้กำเนิดกระบวนการลูกเสือ ซึ่งเป็นคนของเด็กโดยแท้จริงผู้หนึ่งซึ่งเคยมีชีวิตอยู่ ท่านผู้นี้คือ ลอร์ด เบเดน-โพเอลล์ แห่งกิลเวลล์ ประมุขคณะลูกเสือโลก ซึ่งบรรดาลูกเสือพากันเรียกชื่อท่านด้วยความรักว่า "B.-P."
โรเบิร์ต สตีเฟนสัน สไมธ์ เบเดน-โพเอลล์ (Robert Stephenson Smyth Baden - Powell) เกิดในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1857 ตรงกับวันที่พวกอเมริกันฉลองวันเกิดของยอร์ช วอชิงตัน อายุครบรอบร้อยปี บิดาของท่านชื่อ Reverend H.G. Beden-Powell เป็นศาสตราจารย์ที่ออกซ์ฟอร์ด มารดาของท่านเป็นธิดาของพลเรือเอกดับ ที. สไมธ์ (W.T. Smyth) แห่งราชนาวีอังกฤษ ทวดของท่านคือ โจเซฟ บรูเออร์ สไมธ์ (Joseph Brewer Smyth) ได้อพยพไปอยู่อเมริกา ในนิวเจอร์ซี่แกต่ได้เดินทางกลับไปอังกฤษและเรือแตกในระหว่างที่เดินทางกลับถึงบ้าน ฉะนั้นเบเดน-โพเอลล์ จึงเป็นผู้สืบสันดานผู้ที่เป็นพระสายหนึ่ง และของผู้อพยพที่กล้าผจญภัยในโลกใหม่อีกสายหนึ่ง
บี.พี.เมื่อเป็นเด็ก
บิดาของ บี.พี.ถึงแก่กรรมเมื่อ บี.พี.มีอายุประมาณ 3 ปี ทิ้งมารดาของ บี.พี. ไว้พร้อมด้วยบุตร 7 คน ซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบสี่ปี มักจะมีเวลาเดือนร้อยบ่อยๆ สำหรับครอบครัวใหญ่นั้นแต่ความรักร่วมกันของมารดาที่มีต่อบุตร และของบุตรที่มีต่อมารดาได้ทำให้ครอบครัวนี้สามารถฟันฝ่าอุปสรรคไปได้ บี.พี.ได้ดำรงชีวิตกลางแจ้งอย่างสนุกสนานกับพี่น้องสี่คนของเขา โดยได้เดินทางไกลและไปพักแรมร่วมกันตามที่ต่างๆ ในประเทศอังกฤษหลายแห่ง ในปี ค.ศ. 1870 บี.พี. ได้เข้าเรียนในโรงเรียนชาร์ตเตอร์เฮาส์ในกรุงลอนดอน โดยได้รับทุนเล่าเรียน ท่านไม่ใช่คนเก่งทางหนังสือมากนัก แต่ทานก็เป็นคนที่สนุกสนานที่สุดคนหนึ่ง เมื่อมีอะไรในสนามของโรงเรียน ท่านจะอยู่ในกลุ่มนั้นเสมอ และในไม่ช้าก็เป็นที่รู้จักกันว่าท่านเป็นผู้รักษาประตูฝีมือดีในชุดฟุตบอลของโรงเรียนชาร์เตอร์เฮาส์ ความสามารถของท่านในทางละครได้รับความนิยมจากเพื่อนนักเรียนเป็นอันมาก เมื่อได้รับคำเรียกร้องท่านก็สามารถเสนอการแสดงซึ่งทำให้คนทั้งโรงเรียนหัวเราะกันจนท้องคัดท้องแข็ง เล่ห์เหลี่ยมการซุ่มตามจับสัตว์ซึ่ง บี.พี.ได้ฝึกฝนทีในป่ารอบๆ โรงเรียนชาร์เตอร์เฮาส์กลายเป็นคุณประโยชน์แก่เขาที่ในอินเดีย และแอฟริกา ท่านชอบดนตรีด้วย และคุณสมบัติพิเศษของท่านในการเขียนภาพร่าง ทำให้ท่านสามารถเขียนภาพประกอบหนังสือของท่านเองในภายหลัง ไปหัวข้อด้านบน

บี.พี. ในอินเดีย
พออายุ 19 ปี บี.พี. ก็จบจากโรงเรียน และยอมรับโอกาสที่จะไปอินเดียทันทีโดยได้รับยศเป็นร้อยตรีในกองทหาร ซึ่งอยู่ในปีกขวาของแถวทหารม้าที่บรรยายไว้ในคำกลอนที่มีชื่อเสียง "Charge of the Light Brigade" ในสงครามไครเมีย นอกจากจะได้ปฏิบัติหน้าที่ทางทหารอย่างดีเด่นแล้ว ท่านได้รับยศร้อยเอก เมื่อายุ 26 ปี ท่านยังได้รับรางวัลสำหรับการแข่งขันกีฬาทั่วประเทศอินเดียที่มีผู้อยากได้มากที่สุดคือ การแข่งขันแทงหมู "Pig sticking" ซึ่งเป็นการล่าหมูป่าบนหลังม้าโดยมีหอกสั้นเล่มเดียวเป็นอาวุธ ซึ่งอันตรายมากเพราะหมูป่าถูกให้คำนิยามว่าเป็น "สัตว์ชนิดเดียวเท่านั้นที่กล้ากินน้ำแห่งเดียวกับเสือ"บี.พี. ในอินเดีย
พออายุ 19 ปี บี.พี. ก็จบจากโรงเรียน และยอมรับโอกาสที่จะไปอินเดียทันทีโดยได้รับยศเป็นร้อยตรีในกองทหาร ซึ่งอยู่ในปีกขวาของแถวทหารม้าที่บรรยายไว้ในคำกลอนที่มีชื่อเสียง "Charge of the Light Brigade" ในสงครามไครเมีย นอกจากจะได้ปฏิบัติหน้าที่ทางทหารอย่างดีเด่นแล้ว ท่านได้รับยศร้อยเอก เมื่อายุ 26 ปี ท่านยังได้รับรางวัลสำหรับการแข่งขันกีฬาทั่วประเทศอินเดียที่มีผู้อยากได้มากที่สุดคือ การแข่งขันแทงหมู "Pig sticking" ซึ่งเป็นการล่าหมูป่าบนหลังม้าโดยมีหอกสั้นเล่มเดียวเป็นอาวุธ ซึ่งอันตรายมากเพราะหมูป่าถูกให้คำนิยามว่าเป็น "สัตว์ชนิดเดียวเท่านั้นที่กล้ากินน้ำแห่งเดียวกับเสือการรบในแอฟริกา
ในปี ค.ศ. 1887 เราพบ บี.พี. ในแอฟริกามีส่วนร่วมในการรบกับพวกซูลู และในตอนหลังก็ได้รบกับพวก อาซันติ (Ashanti) ที่ดุร้าย และพวกมาตาบีลี (Matabele )ที่ป่าเถื่อน ชาวพื้นเมืองกลัวท่านมาก จนถึงกับตั้งชื่อท่านว่า "อิมปิซ่า" (Impeesa) แปลว่า "หมาป่าซึ่งไม่เคยหลับนอน" (The wolf that never sleeps) ทั้งนี้เพราะความกล้าหาญของท่าน และทักษะของท่านในการสอดแนมกับความสามารถอย่างมหัศจรรย์ของท่านในเรื่องการสะกดรอย การเลื่อนยศของท่าน แทบจะเป็นไปโดยอัตโนมัติ กล่าวคือ ท่านได้เลื่อนยศเป็นประจำ จนกระทั่งท่านได้ย่างเข้าสู่ความมีชื่อเสียงในทันทีทันใด เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1899 และ บี.พี. ได้เลื่อนยศเป็นพันเอก ความยุ่งยากกำลังตั้งเค้าในแอฟริกาใต้ ความสำพันธ์ระหว่างอังกฤษกับรัฐบาลของทรานสวาลรีปับลิกได้ถึงจุดระเบิด เบเดน-โพเอลล์ ได้รับคำสั่งให้จัดทหารม้าถือปืน (Mounted rifles) สองกองพันและเดินทางไปที่มาฟอีคิง ซึ่งเป็นเมืองในใจกลางของแอฟริการใต้ "ผู้ใดยึดมาฟอีคิงไว้ได้ ผู้นั้นย่อมถือบังเหียนของแอฟริกาใต้" เป็นคำกล่าวของชาวพื้นเมืองซึ่งปรากฏว่าเป็นความจริงการล้อมเมืองมาฟอีคิง (The siege of mafeking)
สงครามเกิดขึ้นและเป็นเวลา 217 วันตั้งแต่ 13 ตุลาคม ค.ศ. 1899 บี.พี. ได้รักษาเมืองมาฟอีคิงให้พ้นจากเงื้อมมือของข้าศึก ซึ่งตั้งล้อมอยู่และมีจำนวนมากกว่าอย่างมากมายไว้ได้ จนกระทั้งในที่สุดกองทหารที่มาช่วยได้บุกเข้าไปช่วยเหลือเป็นผลสำเร็จ เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ.1900 บริเตนใหญ่รู้สึกอึดอัดใจตลอดระยะเวลานานเป็นเดือนๆ เหล่านี้ เมื่อในสุดมีข่าวว่า "มาฟอีคิง" พ้นจากการถูกล้อมแล้ว" คนอังกฤษก็ตื่นเต้นยินดีอย่างเป็นบ้า จนเป็นคำที่คนอังกฤษใช้กันเกี่ยวกับการเฉลิมฉลอง ในตอนนั้น บี.พี.ได้เลื่อนยศเป็นพลตรี และได้พบว่าตัวท่านเองได้รับการยกย่องให้เป็นวีรบุรุษในสายตาของเพื่อนร่วมชาติของท่านกำเนิดของการลูกเสือ
บี.พี.ได้เดินทางกลับจากแอฟริกาใต้ไปอังกฤษ ใน ค.ศ.1901 ในฐานะวีระบุรุษของทั้งผู้ใหญ่และเด็ก ท่านได้รับเกียรติมากมายหลายประการ และได้ค้นพบด้วยความแปลกประหลาดใจว่า ความมีชื่อเสียงส่วนตัวของท่านได้ทำให้หนังสือของท่านที่แต่งไว้สำหรับการทหารชื่อ Aids to Scouting ได้พลอยมีชื่อเสียงไปด้วย มีผู้เอาหนังสือนั้นไปใช้เป็นแบบเรียนในโรงเรียนชายต่างๆ บี.พี.มองเห็นการท้าทายที่สำคัญในเรื่องนี้ ท่านหลับตามองเห็นโอกาสของท่านที่จะช่วยเด็กชายอังกฤษให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่แข็งแรง ถ้าหนังสือสำหรับผู้ใหญ่เกี่ยวกับการปฏิบัติในการสอดแนมเป็นที่ถูกใจเด็ก และเร้าใจเด็กก็เป็นของแน่ว่าหนังสือที่เขียนขึ้นสำหรับเด็กเอง ก็คงจะก่อให้เกิดผลที่กว้างขวางยิ่งขึ้น ท่านเริ่มทำงานโดยคิดดัดแปลงจากประสบการณ์ของท่านในอินเดีย และในแอฟริกาเมื่อท่านอยู่กับพวกซูลูและคนพื้นเมืองเผ่าอื่น ท่านจัดทำห้องสมุดพิเศษขึ้น และอ่านหนังสือเกี่ยวกับการฝึกอบรมเด็กทุกยุคทุกสมัย นับตั้งแต่เด็กสปาตานคนอังกฤษในสมัยโบราณ พวกอินเดียนแดง จนถึงสมัยเรา บี.พี.ได้พัฒนาความคิดเห็นในเรื่องการลูกเสืออย่างช้าๆ และด้วยความระมัดระวัง ท่านต้องการทำให้แน่ใจว่า ความคิดเห็นของท่านอาจนำมาใช้ได้ ในทางปฏิบัติ ดังนั้นในฤดูร้อนของปี ค.ศ. 1970 ท่านจึงรวบรวมเด็กยี่สิบคนให้ไปอยู่กับท่านที่เกาะบราวน์ซี (Brownsea) ในช่องแคบอังกฤษ ซึ่งนับว่าเป็นการอยู่ค่ายพักแรมของลูกเสือครั้งแรกซึ่งโลกได้เคยเห็นการอยู่ค่ายครั้งนี้ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม

วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2552

ภากตะวันออกเฉียงเหนือ

ภากตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคตะวันออกเฉีภูมิภาคนี้มีลักษณะโดดเด่นกว่าส่วนอื่นของประเทศประกอบด้วยจังหวัด 19 จังหวัดคือ หนองคาย นครพนม มุกดาหาร ชัยภูมิ สกลนคร อุดรธานี เลย ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ยโสธร นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อุดรธานี หนองบัวลำภู และ อำนาจเจริญ นับได้ว่าเป็นภูมิภาคที่มีพื้นที่และประชากรมากที่สุด นอกจากนั้นยังเป็นภูมิภาคที่มีปัญหาในด้านต่าง ๆ มากที่สุด เช่น ปัญหาความแห้งแล้ง ความยากจน ประชากรอพยพย้ายถิ่น ประชากรในภาคนี้พูดภาษาไทยสำเนียงอีสาน แตกต่างไปจากสำเนียงท้องถิ่นในภาคเหนือแต่ประชากรส่วนใหญ่สามารถพูด สำเนียงไทยภาคกลางได้ ประชากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการแต่งกายเป็นเอกลักษณ์ของตนคือหญิงมักจะนุ่งผ้าซิ่นทอ ด้วยฝ้ายมีเชิงคลุมเลยเข่าไปเล็กน้อย สวมเสื้อแขนสั้น ผู้สูงอายุมักตัดผมสั้นไว้จอน ส่วนผู้ชายไม่ค่อยมีรูปแบบที่แน่นอนนัก แต่มักนุ่งกางเกงมีขาครึ่งน่องหรือนุ่งโสร่งผ้าไหม อย่างไรก็ตามเครื่องแต่งกายดังกล่าวจะพบน้อยลง ในปัจจุบันประชากร วัยหนุ่มสาวจะแต่งกายตามสมัยนิยมอย่างที่พบเห็นในที่อื่น ๆ ของประเทศ
อาชีพในภาคตะวันออกเฉียงเหนือคือการเพาะปลูก พืชที่สำคัญคือ ข้าว มันสำปะหลัง ปอ ข้าวโพด ภาคนี้มีพื้นที่ทำนามากกว่าภาคอื่น ๆ แต่ผลิตผลที่ได้ต่ำ เพราะการทำนาส่วนใหญ่อาศัยน้ำฝนซึ่งไม่ค่อยแน่นอน บางปีมีน้ำมาก บางปีไม่มีน้ำเลย ภาคนี้พอถึงฤดูแล้งน้ำในแม่น้ำลำธารจะเหือดแห้งไปเสียส่วนใหญ่ ถึงฤดูฝนประชาชนก็ไม่ได้เตรียมการเก็บกักน้ำฝนไว้ใช้ให้เป็นที่แพร่หลายกัน เว้นแต่เก็บน้ำฝนไว้ดื่มกินเท่านั้น การขาดแคลนน้ำในภาคนี้ทำให้ไม่ค่อยมีการปลูกพืชหลังการเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว ทำให้ผลผลิตมีน้อย เป็นเหตุให้ประชากรในภูมิภาคนี้มีความยากจนเป็นส่วนมาก ปัญหาขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรทำให้เกิดโครงการน้ำพระทัยจากในหลวง หรือที่รู้จักกันในนาม โครงการอีสานเขียว ความมุ่งหมายของโครงการนี้เพื่อหวังจะยกระดับความเป็นอยู่ของประชากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้ดีขึ้น โดยการหาและสร้างแหล่งน้ำ ปรับปรุงวิธีการประกอบอาชีพ ปรับปรุงด้านสุขภาพอนามัย สิ่งสำคัญที่ควรจะพิจารณาคือพื้นที่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือหลายแห่งไม่เหมาะสำหรับปลูกข้าว เพราะข้าวต้องการน้ำมาก แต่เหมาะสำหรับเลี้ยงสัตว์โดยเฉพาะการเลี้ยงวัว แต่การเลี้ยงวัวเลี้ยงควายโดยการปลูกหญ้าให้เป็นอาหารสัตว์นั้นยังทำกันไม่ค่อยแพร่หลายในภาคนี้ การเลี้ยงสัตว์จึงไม่ค่อยได้ผล สำหรับงานฝีมือ เช่น การทอผ้าไหมและการจักสานในภาคนี้ทำกันได้ดีมีฝีมือประณีต แต่การทำในลักษณะที่เป็นกิจการใหญ่โตทำครั้งละมาก ๆ เพื่อการค้ายังไม่เป็นที่นิยมกันในหมู่ประชาชน
เนื่องจากความขัดสนในพื้นที่ผู้คนในภาคนี้จึงได้ดิ้นรนไปหางานทำกันในภาคอื่น ส่วนมากไปในลักษณะการบุกเบิกหาที่ทำกินใหม่ เรียกว่า " หานาดี " ในภายหลังการหานาดีก็ทำได้ยาก เพราะไม่มีพื้นที่จะให้บุกเบิกใหม่ ส่วนใหญ่จึงไปทำงานรับจ้างในที่ต่าง ๆ และไปกันถึงต่างประเทศ เช่น ประเทศสิงคโปร์ บรูไน และในประเทศเขตทะเลทรายตะวันออกกลาง ปัญหาของภูมิภาคนี้คือการหาหนทางปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่ในภูมิภาค สร้างอาชีพใหม่ ๆ ให้เข้ากับสภาพทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ โดยเฉพาะการเลี้ยงสัตว์และตั้งโรงงานที่รองรับผลิตผล เหล่านี้จะสามารถแก้ปัญหาในภูมิภาคนี้ได้มาก ยงเหนือ

ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์


ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราใช้งานอยู่ในสำนักงานในบ้านนั้นเรียกว่า ไมโครคอมพิวเตอร์ มีแบบตั้งโต๊ะ(Desktop)แบบพกพา(Notebook) และ พาล์มทอป(Palmtop)




1.เคส (Case)เคส (Case) คือ ส่วนที่บรรจุอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เช่น แผงวงจนหลัก ฮาร์ดิสก์ หน่วยความจำ หน่วยประมวลผล เคสมีทั้งแบบแนวนอนและแนวตั้ง

2.มาเตอร์บอร์ด (Motherboard) หรือเรียกกันว่าเมนบอร์ด (Mainboard)แผงวงจรหลัก หรือเมนบอร์ด (Mainboard) ทำหน้าที่เป็นจุดเชื่อมอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เช่น ฮาร์ดดิสก์ ฟล็อปปี้ดิสก์ หน่วยความจำ หน่วยประมวลผลกลาง เป็นต้น
3.ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk)ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลและโปรแกรม ภายในจะมีข้อมูลและโปรแกรมต่างๆ บรรจุอยู่
4.ซีดีรอม (CD - ROM)เครื่องขับคอมแพคดิสก์ หรือซีดีรอม (CD-ROM) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้อ่านข้อมูล บนแผ่นซีดี มีความสามารถเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก
5.แรม (RAM)แรม (RAM) เป็นอุปกรณ์ที่เก็บข้อมูลและโปแกรมขณะที่คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผล
6.CPUหน่วยประมวลผลกลางหน่วยประมวลผลกลาง หรือ CPU (Central Processing Unit) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ และทำกรประมวลผลข้อมูล
7.ดิสก์ไดรฟ์ (Disk Drive) หน่วยขับดิสก์ หรือดิสก์ไดรฟ์ (Disk Drive) เป็นอุปกรณ์สำหรับอ่านและเขียนข้อมูลลงบนแผ่นดิสก์ มีขนาด 3.5 นิ้ว
8.แป้นพิมพ์ (Keyboard) แป้นพิมพ์ หรือ คีย์บอร์ด เป็นอุปกรณ์ทำหน้าที่รับข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์

9.เมาส์ (Mouse)เมาส์ เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ชี้ส่วนต่าง ๆ บนจอภาพ และเรียกโปรแกรมโดยการใช้เมาส์คลิกที่สัญรูปหรือไอคอน (Icon) ที่เป็นตัวแทนของโปรแกรมที่ต้องการ
10.จอภาพ (Monitor)จอภาพ หรือมอนิเตอร์ เป็นอุปกรณ์ทำหน้าที่แสดงผลการประมวลในรูปของภาพ หรือข้อความ11.เครื่องพิมพ์ หรือ พริ้นเตอร์ (Printer) เป็นอุปกรณ์หน่วยแสดงผลโดยการพิมพ์ข้อมูลออกเป็นตัวอักษร ตัวเลขและรูปภาพ
12.ลำโพง (Speaker)ลำโพง หรือสปีคเกอร์ เป็นอุปกรณ์หน่วยสดงผลในรูปของเสียง เช่น เสียงพูด เสียงดนตรี มีในคอมพิวเตอร์ที่เป็นระบบสื่อประสมหรือมัลติมีเดีย (Multiedia)

วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2552

จังหวัดในภาคกลาง

[แก้] การแบ่งพื้นที่
ราชบัณฑิตยสถาน ได้แบ่งภาคกลางออกเป็น 22 จังหวัด (ระบบ 6 ภาค) อย่างเป็นทางการ ซึ่งประกอบไปด้วย [1]
กรุงเทพมหานคร
กำแพงเพชร
ชัยนาท
นครนายก
นครปฐม
นครสวรรค์
นนทบุรี
ปทุมธานี
พระนครศรีอยุธยา
พิจิตร
พิษณุโลก
เพชรบูรณ์
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระบุรี
สิงห์บุรี
สุโขทัย
สุพรรณบุรี
อ่างทอง
อุทัยธานี
นอกจากการแบ่งตามราชบัณฑิตยสถานแล้ว หน่วยงานอื่นยังมีการกำหนดขอบเขตของภาคกลางแตกต่างกันออกไป คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กำหนดให้ภาคกลางประกอบด้วย 9 จังหวัดได้แก่ [1]
กรุงเทพมหานคร
ชัยนาท
นนทบุรี
ปทุมธานี
พระนครศรีอยุธยา
ลพบุรี
สระบุรี
สิงห์บุรี
อ่างทอง

[แก้] ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม กว้างใหญ่ เกิดจากตะกอนดิน ทราย กรวดที่ถูกแม่นำพัดพามาทับถมกัน จนกลายเป็นที่ราบที่มีพื้นที่มากที่สุดในประเทศไทย ได้แก่ ที่ราบดินดอนสามเหลี่ยมเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำบางปะกง บริเวณที่ราบลุ่มตอนบน เป็นที่ราบลอนคลื่น บางแห่งเป็นที่ราบขั้นบันได และที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึงของแม่น้ำปิง วัง ยม น่าน บริเวณขอบเป็นที่ราบแคบๆหรือเนินเขา และบริเวณกล่มเขาโดดนครสวรรค์เป็นที่ราบลอนคลื่นและมีเนินเขาเตี้ยๆโผ่เป็นระยะจากนครสวรรค์ถึงชัยนาท

[แก้] อาชีพของคนภาคกลาง
ลักษณะของพื้นที่ภาคกลางจะเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ ดังนั้นคนส่วนใหญ่ในพื้นที่ภาคกลาง จึงประกอบอาชีพเกษตร การเลี้ยงสัตว์ และการทำประมงทั้งน้ำจืดและประมงน้ำเค็ม อีกทั้งอาชีพค้าขายก็เป็นอีกอาชีพหนึ่งที่คนภาคกลางนิยมกันมาก เพราะว่าภาคกลาง จะมีทางคมนาคมที่สะดวกสบายทั้งทางบกและทางน้ำ ทำให้เหมาะแก่การทำการค้าเป็นอย่างยิ่ง
อาชีพในภาคกลาง ส่วนใหญ่เป็นการเพาะปลูก คือการทำนา แต่จะมีอาชีพอย่างอื่นอีกมาก เช่น การทำไร่ข้าวโพด ข้าวฟ่าง การทำสวนผัก สวนผลไม้ เช่น สวนส้ม ส้มโอ มะขามหวาน มะม่วง การเลี้ยงปลา เลี้ยงกุ้ง เลี้ยงสุกร วัวเนื้อ วัวนม ไก่เนื้อ ไก่ไข่ ฯลฯ นอกจากนั้นยังมีการอุตสาหกรรมต่าง ๆ การค้า งานบริการ ล้วนแต่เป็นอาชีพสำคัญ กรุงเทพมหานครเป็นนครที่ใหญ่โตมีประชากรมาก รวมกิจกรรมทางเศรษฐกิจทุกอย่างไว้ และขณะเดียวกันก็รวมเอาปัญหาสารพัดอย่างไว้ด้วย เช่น ปัญหาชุมชนแออัด ปัญหาอาชญากรรม ยาเสพย์ติด การจราจรติดขัด มลพิษทั้งอากาศและน้ำ ภาคกลางจึงเป็นศูนย์รวมทางเศรษฐกิจทุกด้าน ดังนั้นประชากรในเขตนี้โดยเฉลี่ยจึงมีความเป็นอยู่ดีกว่าประชากรในเขตอื่น ขณะที่ประทศเริ่มมีผลิตผลทางอุตสาหกรรมมากขึ้น การขยายตัวได้เริ่มจากภาคนี้และทำให้ในปัจจุบันมูลค่าการส่งออกของผลิตผลทางอุตสาหกรรมมีมากกว่ามูลค่าการส่งออกของผลิตผลทางด้านเกษตรกรรม ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าเราส่งสินค้าทางการเกษตรน้อยลง แต่เป็นผลมาจากการเปรียบเทียบมูลค่าระหว่างสองกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
เนื่องจากภาคกลางเป็นแหล่งอาชีพที่สำคัญจึงพบว่าประชากรในภูมิภาคอื่นได้อพยพมาหางานในภูมิภาคนี้โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานครและบริเวณใกล้เคียง นอกจากประชากรในประเทศเราแล้วยังมีคนต่างประเทศ เช่น กัมพูชา พม่า ลาว บังกลาเทศ ได้พยายามแอบมาหางานทำในภูมิภาคนี้ จึงนับได้ว่าภาคกลางเป็นภาคที่ก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจกว่าภูมิภาคอื่นๆ

[แก้] เครื่องดนตรีพื้นบ้านของภาคกลาง

วันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2552

ประวัติวัดในภาษีเจริญ

ประวัติ พระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อสด) วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพ
พระมงคลเทพมุนี หรือ หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพ เกิดเมื่อ วันศุกร์ ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ.2427 ตรงกับ แรม 6 ค่ำ เดือน 11 ณ บ้านสองพี่น้อง ตำบลสองพี่น้อง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี บิดาและมารดาชื่อ นายเงิน และ นางสุดใจ มีแก้วน้อย ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดาทั้งสิ้น 5 คน คือ นางดา เจริญเมือง พระมงคลเทพมุนี (สด มีแก้วน้อย) นายใส มีแก้วน้อย นายผูก มีแก้วน้อย และ นายสำรวย มีแก้วน้อย
ท่านประกอบอาชีพค้าขายมาตั้งแต่อายุ 14 ปี นับแต่สิ้นบุญบิดา และประกอบอาชีพดังกล่าวเรื่อยมาจนกระทั่งเมื่ออายุ 19 ปี ท่านเกิดมีความคิดเบื่อหนายชีวิตทางโลก ด้วยเห็ฯถึงวัฏจักรชีวิตของมนุษย์อย่างถ่องแท้แล้ว จึงตัดสินใจขอบวชไปตลอดชีวิตเพื่อศึกษาและรับใช้พระพุทธศาสนาจากปฏิธานของท่านในวันนั้น ด้วยท่านมีภาระหน้าที่ความรับผิดชอบ และเป็นห่วงมารดา จึงขมักเขม้นทำงานเก็บสะสมทรัพย์ เพื่อให้มารดาสามารถเลี้ยงชีพได้ตลอดชีวิต เมื่อบรรบุความตั้งใจในส่วนนี้แล้ว ท่านจึงได้อุปสมบท ณ วัดสองพี่น้อง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ในปี พ.ศ.2449 ขณะอายุได้ 22 ปี โดยมี พระอาจารย์ดี วัดประตูศาล อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูวินยานุโยค (เหนี่ยง อินทโชโต) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์โหน่ง อินทสุวรรณโณ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ โดยได้รับฉายาว่า จนฺทสโรหลวงพ่อสด จนฺทสโร ได้จำพรรษาที่วัดสองพี่น้องเป็นระยะเวลา 1 พรรษา จึงได้เดินทางมาจำพรรษา ณ วัดเชตุพน หรือ วัดโพธิ์ท่าเตียน ในขณะที่จำพรรษาที่วัดเชตุพนนั้น ท่านยังได้เดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ ทั้งใกล้และไกล เพื่อศึกษาหาความรู้ด้านคันถธุระ และ วิปัสสนาธุระ ณ สถานที่ต่าง ๆ อีกหลายที่หลายสำนักด้วยกัน จนกระทั่ง
พ.ศ.2459 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส วัดปากน้ำพ.ศ.2463 ได้รับสมณศักดิ์เป็น พระครูสมณธรรมทานพ.ศ.2492 เป็นพระราชาคณะสามัญที่ พระภาวนาโกศลเถระ ถือพัดยศพื้นสีขาว อันเป็นตำแหน่งเกี่ยวกับทางด้านวิปัสสนาธุระโดยตรงพ.ศ.2498 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราช มีพระราชทินนามว่า พระมงคลราชมุนีพ.ศ.2500 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชทินนามว่า พระมงคลเทพมุนี
พระมงคลเทพมุนี หรือ หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ เริ่มป่วยตั้งแต่ ปี พ.ศ.2499 และได้มรณภาพลงด้วยโรคเส้นเลือดในสมองแตก เมื่อ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2502 เวลา 15.05 น. สิริอายุ 75 ปี 53 พรรษา ณ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ

วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2552

ข้อมูลเขตภาษ๊เจริญ

เขตภาษีเจริญ เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคตั้งอยู่บริเวณฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาหรือฝั่งธนบุรี มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองข้างเคียง เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ
เขตตลิ่งชัน มีคลองบางเชือกหนังเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ
เขตบางกอกใหญ่และเขตธนบุรี มีคลองบางกอกใหญ่และคลองบางหลวงน้อยเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศใต้ ติดต่อกับและ
เขตจอมทองและเขตบางบอน มีคลองวัดนางชี คลองตาม่วง คลองสวนเลียบ คลองวัดโคนอน คลองบางหว้า คลองสวนหลวง คลองรางบัว คลองตาฉ่ำ ลำประโดง คลองวัดสิงห์ และคลองบางโคลัด เป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ
เขตบางแค มีคลองพระยาราชมนตรี คลองบางแวก คลองบางไผ่ และคลองลัดตากลั่น เป็นเส้นแบ่งเขต

[
แก้] ที่มาของชื่อเขต
ชื่อของเขตนั้นนำมาจากชื่อของ
คลองภาษีเจริญ ที่ขุดขึ้นเชื่อมแม่น้ำท่าจีน (ที่ตำบลดอนไก่ดี อำเภอกระทุ่มแบน แขวงเมืองสมุทรสาคร) กับคลองบางกอกใหญ่ เพื่อเป็นการสัญจรทางน้ำ ซึ่งเน้นการส่งอ้อยและน้ำตาลจากต่างจังหวัดเข้าสู่เมืองหลวง โดยเริ่มขุดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2401 เสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2415 และชื่อคลองตั้งตามชื่อพระภาษีสมบัติบริบูรณ์ (ต่อมาเป็น พระยาพิสณฑ์สมบัติบริบูรณ์) ผู้เป็นแม่กองดูแลงานขุดคลองนี้

[
แก้] ประวัติศาสตร์
จากนั้นได้มีผู้คนย้ายมาตั้งถิ่นฐานอยู่ริมคลองภาษีเจริญมากขึ้นจนเป็นชุมชนใหญ่ ทางราชการจึงได้จัดตั้ง อำเภอภาษีเจริญ ขึ้นในปี
พ.ศ. 2442 มีฐานะเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดธนบุรี และในปี พ.ศ. 2498 กระทรวงมหาดไทยได้จัดตั้งสุขาภิบาลบางแคขึ้นในพื้นที่บางส่วนของตำบลบางแค บางหว้า และบางด้วนที่ตั้งอยู่ริมคลองสายนี้ และในปี พ.ศ. 2513 ได้ขยายเขตออกไปจนครอบคลุมพื้นที่เกือบทั้งอำเภอ (เหลือเพียงตำบลบางไผ่ ตำบลบางแวก ส่วนตำบลคูหาสวรรค์และตำบลปากคลองภาษีเจริญอยู่ในเขตเทศบาลนครธนบุรีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2479)
ภายหลังได้มีการรวมจังหวัดธนบุรีกับ
จังหวัดพระนครเข้าด้วยกันเป็นจังหวัดนครหลวงกรุงเทพธนบุรี และเปลี่ยนเป็นกรุงเทพมหานครในปี พ.ศ. 2515 ซึ่งได้ยุบการปกครองท้องถิ่นแบบสุขาภิบาลและเทศบาล รวมทั้งได้เปลี่ยนการเรียกตำบลและอำเภอใหม่ อำเภอภาษีเจริญจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 มีหน่วยการปกครองย่อย 10 แขวง
ต่อมาพื้นที่ทางทิศตะวันตกของเขตภาษีเจริญมีความเจริญและมีประชากรหนาแน่น กรุงเทพมหานครได้จัดตั้งสำนักงานเขตภาษีเจริญ สาขา 1 ดูแลแขวงบางแค บางแคเหนือ และบางไผ่ และในปี
พ.ศ. 2540 กระทรวงมหาดไทยได้มีประกาศแบ่งพื้นที่ปกครองของสำนักงานเขตภาษีเจริญ สาขา 1 ดังกล่าวออกไปตั้งเป็นเขตบางแค อยู่ในกลุ่มเขตตากสิน ซึ่งถือเป็นแหล่งจ้างงานใหม่ แหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก และศูนย์ราชการทางทิศตะวันตกของกรุงเทพมหานคร

ระเบียบแถวลูกเสือ

พิธีการสวนสนามและกล่าวคำปฎิณาญของคณะลูกเสือ เนื่องในวันคล้ายวันสถาปณาคณะลูกเสือแห่งชาติ 1 กรกฎาคม
การสวนสนามและกล่าวคำปฎิญาณของลูกเสือ
วันที่ ๑ กรกฎาคม ของทุกปี ถือว่าเป็นวันคล้ายวันสถาปณาคณะลูกเสือแห่งชาติ เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ พระองค์ได้ทรงสถาปณากิจการลูกเสือไทยขึ้นเป็นครั้ง แรก เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๔ ทางคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ จึงได้ถือเอา วันที่ ๑ กรกฎาคมของทุกปี เป็นวันที่ ลูกเสือทุกคนทุกประเภท จะต้องแสดงความจงรักภักดีต่อองค์พระประมุขของคณะลูกเสือแห่งชาติ คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน โดยการกล่าวคำปฏิญาณของลูกเสือเฉพาะพระพักต์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือตัวแทนพระองค์ หรือพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และกระทำพิธีสวนสนาม ซึ่งมีขั้นตอนและพิธีปฎิบัติดังนี้
พิธีการนี้เป็นการจัดในระดับอำเภอหรือที่โรงเรียนซึ่งไม่มีธงคณะลูกเสือแห่งชาติหรือธงลูกเสือประจำจังหวัด
การจัดเตรียมสถานที่
๑.ในการจัดพิธีภายในจังหวัดให้นำธงลูกเสือประจำจังหวัดอัญเชิญโดยกองลูกเสือเกียรติยศมาประจำแท่นที่เตรียมเพื่อรับการเคารพ
๒.เครื่องหมายหรือธงที่จะแสดงจุดที่จะให้ลูกเสือแสดงความเคารพ จะมี ๓ จุด คือ
ธงที่ ๑ ธงเตรียมทำเคารพอยู่ห่างจากผู้รับการเคารพไปทางซ้ายมือของผู้รับการเคารพ ๒๐ ก้าว
ธงที่ ๒ ธงเริ่มทำความเคารพอยู่ห่างจากผู้รับการเคารพไปทางซ้ายมือของผู้รับการเคารพ ๑๐ ก้าว
ธงที่ ๓ ธงเลิกทำความเคารพอยู่ถัดจากผู้รับการเคารพไปทางขวามือของผู้รับการเคารพ ๑๐ ก้าว
ลูกเสือและผู้บังคับบัญชาลูกเสือที่จะเข้าร่วมพิธีสวนสนาม
๑.ประธานในพิธีแต่งเครื่องแบบลูกเสือตามตำแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้ง กางเกงขาสั้น ซึ่งประธานถ สำหรับพิธีในจังหวัดจะได้แก่ผู้อำนวยการลูกเสือจังหวัด หรือรองผู้อำนวยการลูกเสือจังหวัด ประธานในพิธีสำหรับอำเภอ ได้แก่ ผู้อำนวยการลูกเสืออำเภอหรือรองผู้อำนวยการลูกเสืออำเภอ
๒.แขกผู้มีเกียรติที่มาร่วมในพิธีแต่งเครื่องแบบลูกเสือกางเกงขาสั้นตามตำแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้ง
๓.ผู้กำกับกองลูกเสือและรองผู้กำกับกองลูกเสือแต่งเครื่องแบบลูกเสือกางเกงขาสั้นตามประเภทของลูกเสือที่ตนทำหน้าที่เป็นผู้กำกับกองและรองผู้กำกับกอง ถ้าเป็นลูกเสือสามัญ ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ ลูกเสือวิสามัญ จะต้องมีไม้ถือของลูกเสือตามประเภทของลูกเสือ ส่วนลูกเสือสำรองไม่ต้องมีไม้ถือ
๔.ลูกเสือแต่งเครื่องแบบลูกเสือตามประเภทของตน ลูกเสือสามัญ มีไม้พลอง นายหมู่มีธงหมู่ ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่และลูกเสือวิสามัญ มีไม้ง่าม นายหมู่มีธงหมู่ ลูกเสือสำรองไม่มีไม้พลองหรือไม้ง่าม
๕.ลูกเสือผู้ทำหน้าที่ถือป้ายกองลูกเสือ ๑ คน แต่งเครื่องแบบตามประเภทที่ตนสังกัด
๖.ลูกเสือผู้ทำหน้าที่ ถือธงประจำกองลูกเสือ ๑ คน แต่งเครื่องแบบตามประเภทที่ตนสังกัด
๗.ลูกเสือ ๑ กองจะประกอบด้วยลูกเสือ ๖ - ๘ หมู่ หมู่ ๑ประกอบด้วยลูกเสือ ๗ - ๘ คน
๘.ผู้กำกับกองลูกเสือ ๑ คนและรองผู้กำกับกองลูกเสือ ๑ คน ต่อลูกเสือ ๑ กอง
๙.วงดุริยางค์ที่ร่วมในพิธีแต่งเครื่องแบบลูกเสือตามประเภทที่ตนสังกัด
๑๐.ลูกเสือชาวบ้านแต่งชุดปกติสวมผ้าผูกคอลูกเสือชาวบ้านติดเครื่องหมายคณะลูกเสือแห่งชาติ
การเตรียมแถวและรูปขบวนเพื่อทำพิธีสวนสนาม
๑.ลูกเสือที่ทำหน้าที่ถือป้ายชื่อกองลูกเสือยืนอยู่ด้านหน้าสุด
๒.ลูกเสือที่ทำหน้าที่ถือธงประจำกองลูกเสือยืนห่างจากผู้ถือป้ายกองลูกเสือ ๕ ก้าว
๓.ผู้กำกับกองลูกเสือ ๑ คน ยืนห่างจากผู้ถือธงประจำกองลูกเสือ ๕ ก้าว
๔.รองผู้กำกับกองลูกเสือ ๑ คน ยืนห่างจากผู้กำกับกองลูกเสือ ๕ ก้าว
๕.ลูกเสือจัดแถวหน้ากระดานหมู่ปิดระยะ นายหมู่อยู่ทางขวามือ ห่างจากรองผู้กำกับฯ ๓ ก้าว
๖.ระยะห่างระหว่างหมู่ ๑ ก้าว
๗.ลูกเสือแต่ละกองจะมีผู้กำกับฯ ๑ คน และรองผู้กำกับฯ ๑ คน ยืนต่อกันไปด้านหลังจากกองที่ ๑
๘.กองลูกเสือของแต่ละโรงเรียนจะยืนเรียงกันไป ระยะห่างระหว่างกอง ๕ ก้าว
๙.แถวกองผสม ซึ่งหมายถึงผู้กำกับฯที่มาร่วมพิธีและไม่ได้ประจำกองลูกเสือ จัดแถวหน้ากระดาน เรียง ๘ โดยมีผู้บังคับขบวนสวนสนามยืนตรงกลางหน้าสุด เมื่อเริ่มเดินสวนสนาม
๑๐.แท่นรับความเคารพและพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อยู่ตรงหน้าแถวลูกเสือทั้งหมด
การเริ่มพิธีสวนสนามและกล่าวคำปฎิญาณของลูกเสือ
๑.กองลูกเสือตั้งแถวตามที่กำหนดไว้ ยืนอยู่ในท่าตามระเบียบพัก
๒.กองผสมตั้งแถวอยู่ที่หัวขบวน
๓.ผู้บังคับขบวนสวนสนามยืนประจำที่เตรียมพร้อมที่จะกล่าวรายงานต่อประธานในพิธี
๔.แขกผู้มีเกียรติที่มาร่วมพิธีตั้งแถวรอรับประธาน
๕.เมื่อถึงเวลาประธานในพิธีมาถึงบริเวณพิธี ผู้บังคับขบวนสวนสนามสั่ง "ลูกเสือทั้งหมดตรง" "เคารพประธานในพิธี (ตรงหน้า-,ทางขวา,ทางซ้าย-ระวัง) " "วันทยาวุธ" ลูกเสือทุกคนทำความเคารพ ผู้ที่มีไม้พลอง ไม้ง่าม ทำวันทยาวุธ ผู้กำกับลูกเสือทำความเคารพด้วยท่าไม้ถือ แขกผู้มีเกียรติ และผู้ที่ไม่มีไม้ถือให้ทำวันทยาหัตถ์ ลูกเสือสำรองยืนในท่าตรงไม่ต้องทำ วันทยาหัตถ์ วงดุริยางค์บรรเลงเพลงมหาฤกษ์ผู้ที่ถือธงทำความเคารพด้วยท่าธง ผู้ถือป้าย ยืนตรงไม่ต้องทำวันทยาหัตถ์ประธานในพิธีและผู้ติดตามที่แต่งเครื่องแบบลูกเสือรับความเคารพ ด้วยการทำวันทยาหัตถ์ จนจบเพลงหมาฤกษ์
๖.เมื่อวงดุริยางค์บรรเลงเพลงมหาฤกษ์จบ ผู้บังคับขบวนสวนสนามวิ่งไปรายงานจำนวนผู้บังคับบัญชา ลูกเสือและจำนวนลูกเสือที่มาร่วมในพิธีและเชิญประธานตรวจพลสวนสนามและเดินตามประธานตรวจพล พร้อมผู้ติดตาม ในขณะนั้นทุกคนทำวันทยาวุทธและท่าตรง เมื่อประธานเดินผ่านกองลูกเสือใดให้ผู้ถือธง ประจำกองลูกเสือทำความเคารพด้วยท่าเคารพธง จนตรวจครบทุกกองผู้บังคับขบวนสวนสนามส่งประธาน ประจำที่และกลับประจำที่เดิมสั่ง " เรียบ-อาวุธ " ทุกคนปฎิบัติตาม
๗.ตัวแทนลูกเสือกล่าวรายงานกิจการลูกเสือในรอบปี หรือถ้ามีลูกเสือได้รับเครื่องหมายลูกเสือสรรถ เสริญหรือเหรียญสดุดีลูกเสือหรือได้รับเครื่องหมายวูดแบด ก็อาจจะทำพิธีมอบในเวลานี้
๘.ผู้บังคับขบวนสวนสนามสั่ง "ลูกเสือสำรองเตรียมกล่าวปฎิญาณ - ตามข้าพเจ้า -แสดงรหัส" ทุกคนแสดงรหัสลูกเสือสำรองแสดงรหัสลูกเสือสำรอง ด้วยการทำวันทยาหัตถ์ ๒ นิ้ว ลูกเสืออื่น และผู้อยู่ในบริเวณพิธีแสดงรหัสลูกเสือ ๓ นิ้ว ไม่ต้องกล่าวตาม ลูกเสือสำรองกล่าวตาม
" ข้าสัญญาว่า"
ข้อ ๑ ข้าจะจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
ข้อ ๒ ข้าจะยึดมั่นในกฎของลูกเสือสำรองและบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่นทุกวัน
เมื่อกล่าวจบ ผู้บังคับขบวนสนามสั่ง " ลูกเสือสามัญ -ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ๋-ลูกเสือวิสามัญ-ลูกเสือ ชาวบ้าน-กล่าวคำปฎิญาณตามข้าพเจ้า" ทุกคนยังแสดงหรัสอยู่และกล่าวคำปฎิญาณตาม ส่วนลูก เสือสำรองยืนในท่าตรง ไม่ต้องกล่าว
" ด้วยเกียรติของข้า ข้าสัญญาว่า"
ข้อ ๑ ข้าจะจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
ข้อ ๒ ข้าจะช่วยเหลือผู้อื่นทุกเมื่อ
ข้อ ๓ ข้าจะปฏิบัติตามกฎของลูกเสือ
เมื่อกล่าวจบ ผู้บังคับขบวนสวนสนามสั่ง " เอามือลง - ตามระเบียบพัก " ในการแสดงรหัสของลูกเสือที่ถือไม้พลองหรือไม้ง่าม ให้เอาไม้ง่ามหรือไม้พลองพิงไว้ที่ไหล่ซ้ายโคนไม้ อยู่ระหว่างปลายเท้าทั้ง ๒ แขนซ้ายงอตั้งฉาก มือขวาแสดงหรัส ผู้ที่ถือธงก็ปฏิบัติเช่นเดียวกับผู้ที่ถือไม้ง่าม หรือไม้พลอง ผู้ที่ถือป้านให้ถือป้ายด้วยมือซ้ายมือขวาแสดงรหัส ผู้กำกับที่มีไม้ถือก็แสดงรหัสด้วยมือขวา มือซ้ายถือไม้ถือ ลูกเสือหรือผู้บังคับบัญชาลูกเสือที่ไม่มีไม้ถือ ก็ให้ยืนตรงแสดงรหัสด้วยมือขวา
๙.เมื่อกล่าวคำปฏิญาณจบประธานให้โอวาท เมื่อจบแล้ว ผู้บังคับขบวนสวนสนามสั่ง "ลูกเสือทั้งหมดตรง" "เตรียมสวนสนาม" หากมีแตรเดี่ยว แตรเดี่ยวก็จะวิ่งมาตรงหน้าประธานและเป่าแตรเตรียมสวนสนาม เมื่อแตรเป่าจบผู้บังคับขบวนสวนสนามสั่ง "ขวาหัน" ดุริยางบรรเลงเพลงเดินสวนสนาม เช่น เพลงสยามมานุสติ ผู้บังคับขบวนสวนสนามวิ่งไปยืนหน้ากองผสม สั่ง "กองผสม-หน้าเดิน" เมื่อเดินผ่านประธานแล้วให้วิ่งไปยืนทางด้านข้างประธานในท่าวันทยาวุทธ ส่วนกองผสมเดินผ่านไปแล้วเข้าประจำที่เดิม
๑๐.สำหรับกองลูกเสือแต่ละกองเมื่อพร้อมแล้ว รองผู้กำกับฯของแต่ละกองสั่ง "แบกอาวุธ" "หน้าเดิน
๑๑.เมื่อผู้กำกับกองลูกเสือเดินผ่านธงที่ ๑ ให้อยู่ในท่าบ่าอาวุธ ผ่านธงที่ ๒ ให้ทำความเคารพ ผ่านธงที่ ๓ ให้เลิกทำความเคารพ
๑๒.เมื่อรองผู้กำกับกองลูกเสือผ่านธงที่ ๑ ให้สั่ง "ระวัง" และอยู่ในท่าบ่าอาวุธ เมื่อผ่านธงที่ ๒ ให้สั่ง "แลขวาทำ" ตัวรองผู้กำกับก็ทำความเคารพ เมื่อผ่านธงที่ ๓ ก็ให้เลิกทำความเคารพ
๑๓.กองลูกเสือเมื่อรองผู้กำกับสั่ง "แบกอาวุธ"ก็แบกอาวุธและหน้าเดิน เมื่อได้ยินรองผู้กำกับฯสั่ง "ระวัง" ทุกคนก็เตรียมตัวทำความเคารพ เมื่อรองผู้กำกับฯสั่ง "แลขวาทำ " ทุกคนสลัดหน้าไปทางขวายกเว้น นายหมู่ให้หน้ามองตรง แขนแกว่งปกติทุกคน ทั้งนี้ให้เริ่มทำเมื่อได้ยินคำสั่งไม่ต้องรอให้ถึงธงที่ ๒ และเมื่อเดินถึงธงที่ ๓ ให้เลิกทำเองโดยไม่ต้องรอคำสั่ง ๑๔.สำหรับลูกเสือสำรองซึ่งไม่มีไม้พลองหรือไม้ง่าม เมื่อได้ยินคำสั่ง "ระวัง"ก็เดินปกติ เมื่อได้ยินคำ สั่ง "แลขวา-ทำ" ก็สลัดหน้าไปทางขวายกเว้นนายหมู่หน้ามองตรงไปข้างหน้า แขนทั้ง ๒ ข้างแนบลำตัวไม่ต้องทำวันทยาหัตถ์ เมื่อผ่านธงที่ ๓ ก็เดินแกว่งแขนปกติไม่ต้องรอคำสั่ง
๑๕.เมื่อลูกเสือทุกกองเดินผ่านประธานครบแล้วก็เดินกลับประจำที่เดิมรอส่งประธาน
๑๖.ผู้บังคับขบวนสวนสนามสั่ง "ลูกเสือทั้งหมด-ตรง" "เคารพประธาน-ตรงหน้าระวัง " "วันทยาวุธ" ดุริยางค์บรรเลงเพลงมหาฤกษ์ ทุกคนทำความเคารพเหมือนเมื่อตอนที่ประธานมา
๑๗.เมื่อวงดุริยางค์บรรเลงจบ ประธานกลับ ผู้บังคับขบวนสวนสนามสั่ง "เรียบ - อาวุธ" "เลิกแถว" เป็นอันเสร็จพิธี หลังจากนั้นอาจจะมีกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ของลูกเสือแต่ละกอง
การทำความเคารพของผู้ถือธงประจำกองลูกเสือ
ขณะอยู่กับที่
ให้ถือธงด้วยมือขวา โคนคันธงจดพื้นและแนบกับลำตัว แขนซ้ายแนบลำตัวอยู่ในท่าตรง เมื่อได้ยินคำสั่งให้ทำความเคารพ ใช้มือซ้ายจับคันธงเหนือมือขวาและยกคันธงขึ้นมาด้วยมือซ้ายมือขวาจับคันธงเหยียดถ ตรงแนบลำตัว ยกคันธงขึ้นมาจนแขนซ้ายเสมอบ่าขวา ข้อศอกซ้ายตั้งได้ฉาก ครั้นแล้วทำกึ่งขวาหัน ลดปลายธงลงข้างหน้าช้าๆ จนคันธงขนานกับพื้น มือซ้ายอยู่เสมอแนวบ่าห่างจากตัวพอสมควร มือขวาจับโคนคันธงแขน เหยียดตรงไปทางด้านหลังตามแนวคันธง แล้วค่อยๆยกคันธงขึ้นช้าๆ จนคันธงตั้งตรง ทำกึ่งซ้ายหัน ใช้มือซ้ายจับคันธงลดลงมา จนมือซ้ายชิดมือขวา โค่นคันธงจดพื้น สลัดมือซ้ายกลับอยู่ในท่าตรง ท่าตามระเบียบพักก็ยืนเหมือนกับที่ตรง เพียงหย่อนเข่าซ้ายหรือขวาเล็กน้อย
ขณะเดิน
เมื่อได้ยินคำสั่งให้สวนสนามและแบกอาวุธให้ใช้มือซ้ายจับคันธงเหนือมือขวาแล้วชิดมือขวายกคันธงขึ้นมา ด้วยมือซ้ายมือขวาเจับคันธงเหยียดตรงแนบลำตัว ยกคันธงขึ้มาจนแขนซ้ายเสมอบ่าขวาข้อศอกซ้ายตั้ง ได้ฉากปล่อยมือซ้ายกลับลงที่เดิม งอข้อศอกขวา ๙๐ องศา คันธงอยู่บนบ่าขวา อยู่ในท่าแบกอาวุธ เมื่อเดิน ถึงธงที่ ๑ (ธงระวัง) ให้ลดธงลง จากบ่ามาแนบลำตัว มือซ้ายจับคันธงข้อศอกงอตั้งฉากขนานกับพื้นแขนขวาเหยียดตรงข้าลลำตัว ปลายธงชี้ ตรง เมื่อถึงธงที่ ๒ (ธงทำความเคารพ) ให้เหยียดแขนซ้ายตรงไปข้างหน้ากำคันธงไว้ ให้คันธงเอนออกไปข้างหน้า ประมาณ ๔๕ องศา แขนขวาเหยียดตรงแนบข้างลำตัว ตาแลตรงไปข้างหน้า เมื่อถึงธงที่ ๓ (ธงเลิกทำความเคารพ) ให้ดึงธงขึ้นมาอยู่ในท่าตรงสลัดแขนซ้ายกลับที่เดิมงอข้อศอกขวาคันธงอยู่บนบ่าขวาอยู่ในท่าแบกอาวุธเดินไปตามปกติ โอกาสที่จะทำความเคารพจะทำเมื่อ มีการบรรเลงเพลงชาติ เพลงสรรเสริญพระบารมี เพลงมหาฤกษ์เพลงมหาชัย เพลงสรรเสริญเสือป่า เมื่อธงคณะลูกเสือแห่งชาติ ธงลูกเสือจังหวัดที่เชิญผ่านไป องค์พระ ประมุขคณะลูกเสือแห่งชาติสมเด็จพระบรมราชินีนาถ พระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ ประธานในพิธีการลูกเสือที่แต่งเครื่องแบบ
การทำความเคารพของผู้ถือป้ายประจำกองลูกเสือ
ขณะอยู่กับที่
ให้ถือป้ายโดยใช้มือขวากำคันป้ายชิดกับแผ่นป้ายมือซ้ายกำต่อจากมือขวา โคนป้ายอยู่ระหว่างปลายเท้าทั้งสอง เมื่อได้ยินคำสั่งให้ทำความเคารพก็ยืนในท่าตรงปกติมืออยู่ที่เดิม เมื่อได้ยินคำสั่งให้แบกอาวุธ ให้ ปล่อยมือขวาลงมือซ้ายยกป้ายไปไว้ที่รองไหล่ขวา มือขวาจับที่โคนคันป้าย แขนซ้ายงอขนานกับพื้น แขนขวา เหยีดตรง แผ่นป้ายอยู่เหนือศรีษะเล็กน้อย
ขณะเดิน
เดินถือป้ายในท่าแบกอาวุธ หน้ามองตรง เมื่อเดินก่อนถึงธงที่ ๑ ประมาณ ๒๐ ก้าวให้บิดป้ายไปทางขวา และเดินไปเรื่อยๆจนผ่านธงที่ ๓ ให้บิดป้ายกลับ
การใช้ไม้ถือของผู้บังคับบัญชาลูกเสือ
ขณะทำความเคารพอยู่กับที่
ผู้บังคับบัญชาลูกเสือที่ทำหน้าที่เป็นผู้กำกับกองลูกเสือสามัญ,สามัญรุ่นใหญ่, วิสามัญ และผู้ทำหน้าที่เป็นผู้บังคับขบวนสวนสนามเมื่อร่วมพิธีสวนสนามและทบทวนคำปฎิญาณจะต้องมีไม้ถือ มีข้อปฏิบัติ คือ
๑.ท่าถือปกติ ใช้มือซ้ายถือไม้ถือ โดยเอาหนีบไว้ใต้ซอกรักแร้ แขนซ้ายท่อนบนขนานกับลำตัวและ หนีบไม้ไว้แขนซ้ายท่อนล่างเหยียดตรงไปข้างหน้า มือซ้ายกำโคนไม้ถือ ห่างปลายโคนไม้ถือประมาณ ๑ ฝ่ามือหงายฝ่ามือขึ้นให้ไม้ถือขนานกับพื้น
๒.ท่าบ่าอาวุธ เอามือขวาจับที่โคนไม้ถือ โดยคว่ำฝ่ามือลง แล้วดึงไม้ถือออกจากซอกรักแร้ ชี้ไม้ถือให้เฉียงประมาณ ๔๕ องศา ปลายชี้ขึ้นฟ้า แขนขวาเหยียดตรง ปล่อยแขนซ้ายลงข้างลำตัว หลังจากนั้นดึงไม้ถือเข้าหาปากห่างจากปากประมาณ ๑ ฝ่ามือ แขนขวางอตั้งฉากขนานกับพื้น ไม้ถือชี้ขึ้นตั้งตรงมือขวากำโคนไม้ถือ นิ้วทั้ง ๔ เรียงกันด้านนอก นิ้วหัวแม่มืออยู่ด้านใน จากนั้นจับไม้ถือเข้าหาร่องไหล่ขวา แขนขวาเหยีดตรงแนบลำตัว โคนไม้ถืออยู่ระหว่างนิ้วชี้กับนิ้วหัวแม่มือ ปลายไม้ชี้ขึ้นตรงอยู่ในร่องไหล่ขวา
๓.ท่าวันทยาวุธ จะต้องทำต่อจากท่าบ่าอาวุธ ซึ่งในขณะนั้นไม้ถืออยู่ที่ร่องไหล่ขวา ให้ยกไม้ถือขึ้น เสมอปากห่างจากปากประมาณ ๑ ฝ่ามือ แขนขวางอขนานกับพื้น จากนั้นให้ฟาดไม้ลงให้ปลายไม้ชี้ที่พื้นดิน เฉียงประมาณ ๔๕ องศา ปลายไม้ห่างจากพื้นดินประมาณ ๑ คืบ แขนขวาแนบลำตัว แขนซ้ายแนบลำตัว เหมือนอยู่ในท่าตรง หน้ามองตรง
๔.ท่าเรียบอาวุธ ทำต่อจากท่าวันทยาวุธ ยกไม้ถือขึ้นเสมอปากแล้วดึงไม้ถือเข้าหาร่องไหล่ขวา เหมือนท่าบ่าอาวุธ (เป็นจังหวะที่ ๑ ซึ่งเมื่องสั่ง"เรียบ-อาวุธ" จะทิ้งจังหวะให้ทำในจังหวะที่ ๑ ก่น คือสั่งว่า "เรียบ" แล้วทิ้งช่วงไว้จนทำเสร็จจังหวะที่ ๑ แล้วสั่งว่า "อาวุธ" จึงเริ่มทำจังหวะที่ ๒) จากนั้นกำโคนไม้ถือ เหยียดแขนขวาขึ้นเฉียงขึ้น ๔๕ องศา ปลายไม้ถือชี้ขึ้นฟ้า หักข้อมือขวาลงให้ปลายไม้ถือชี้เข้าหาซอกรักแร้ ซ้ายงอแขนซ้ายขึ้นรองรับไม้ถือ จับไม้ถือด้วยมือซ้ายเหมือนท่าถือปกติ
การทำความเครพด้วยไม้ถือจะทำเมื่อได้ยินคำสั่ง ดังนี้
ครั้งที่ ๑ สั่งเมื่อประธานในพิธีมาถึงและวงดุริยางค์บรรเลงเพลง มหาฤกษ์ จนจบเพลง "เคารพประธานในพิธี-ตรงหน้าระวัง" ก็ดึงไม้ถือจากท่าถือปกติมาเป็นท่าบ่าอาวุธ"วันทยาวุธ" จับไม้ถือจากท่าบ่าอาวุธเป็นท่าวันทยาวุธ "เรียบ" จากท่าวันทยาวุธมาเป็นท่าบ่าอาวุธถ "อาวุธ" จากท่าบ่าอาวุธกลับมาเป็นท่าถือปกติ
ครั้งที่ ๓ เมื่อจะเริ่มสวนสนาม ดุริยางค์บรรเลงเพลงเดิน เช่น เพลงสยามมานุสติ"แบกอาวุธ" ทำจากท่าถือปกติมาเป็นท่าบ่าอาวุธ
ครั้งที่ ๔ สั่งเมื่อส่งประธานในพิธีกลับ ดุริยางค์บรรเลงเพลงมหาฤกษ์"เคารพประธานในพิธี-ตรงหน้าระวัง" ก็ดึงไม้ถือจากท่าถือปกติมาเป็นท่าบ่าอาวุธ "วันทยาวุธ" จับไม้ถือจากท่าบ่าอาวุธเป็นท่าวันทยาวุธ "เรียบ" จากท่าวันทยาวุธมาเป็นท่าบ่าอาวุธ "อาวุธ" จากท่าบ่าอาวุธกลับมาเป็นท่าถือปกติ
ขณะเดินสวนสนาม
๑.เมื่อเริ่มเดินจะถือไม้ถืออยู่ในท่าบ่าอาวุธ แขนซ้ายแกว่งปกติ แขนขวาแกว่งเล็กน้อย
๒.เมื่อเดินถึงธงที่ ๑ ยกไม้ถือจากท่าบ่าอาวุธมาเสมอปาก ปลายไม้ชี้ขึ้นฟ้าแขนขวางอขนานกับพื้น แขนซ้ายแกว่งปกติ ผู้กำกับฯทำเองเมื่อเดินถึงธงที่ ๑ รองผู้กำกับฯ เมื่อถึงธงที่ ๑ ให้ทำพร้อมกับออกคำสั่งว่า "ระวัง"
๓.เมื่อเดินถึงธงที่ ๒ ก็ฟาดไม้ลงเหมือนท่าวันทยาวุธ แขนซ้ายไม่แกว่ง สลัดหน้าไปทางขวาผู้กำกับฯทำเมื่อถึงธงที่ ๒ รองผู้กำกับฯทำพร้อมออกคำสั่งว่า "แลขวา-ทำ" เมื่อเดินถึงธงที่ ๒
๔.เมื่อเดินถึงธงที่ ๓ ก็ดึงไม้กลับจากท่าวันทยาวุธกลับมาเป็นท่าบ่าอาวุธ ผู้กำกับฯและรองผู้กำกับฯทำเมื่อเดินผ่านธงที่ ๓ โดยไม่ต้องออกคำสั่ง การทำความเคารพด้วยไม้ถือขณะเดินให้ทำไปพร้อมกับเดินโดยทำและออกคำสั่งเมื่อจังหวะตบเท้าซ้าย