kaka00525@yahoo.com

วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2552

ประวัติของลูกเสือไทย



ผู้ให้กำเนิดกระบวนการลูกเสือ ประมุขคณะลูกเสือโลกบี.พี.เมื่อเป็นเด็ก บี.พี. ในอินเดีย การรบในแอฟริกา การล้อมเมืองมาฟอีคิง (The siege of mafeking) กำเนิดของการลูกเสือ หนังสือ Scouting for Boys ชีวิตที่สองของ บี.พี. ความเป็นพี่น้องทั่วโลก ( World Brotherhood ) บั่นปลายชีวิต
ผู้ให้กำเนิดกระบวนการลูกเสือ ประมุขคณะลูกเสือโลก
ถ้าท่านต้องการเข้าใจเรื่องลูกเสือโดยตลอด ท่านจำเป็นต้องรู้เรื่องราวบางอย่างเกี่ยวกับคนที่ได้ให้กำเนิดกระบวนการลูกเสือ ซึ่งเป็นคนของเด็กโดยแท้จริงผู้หนึ่งซึ่งเคยมีชีวิตอยู่ ท่านผู้นี้คือ ลอร์ด เบเดน-โพเอลล์ แห่งกิลเวลล์ ประมุขคณะลูกเสือโลก ซึ่งบรรดาลูกเสือพากันเรียกชื่อท่านด้วยความรักว่า "B.-P."
โรเบิร์ต สตีเฟนสัน สไมธ์ เบเดน-โพเอลล์ (Robert Stephenson Smyth Baden - Powell) เกิดในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1857 ตรงกับวันที่พวกอเมริกันฉลองวันเกิดของยอร์ช วอชิงตัน อายุครบรอบร้อยปี บิดาของท่านชื่อ Reverend H.G. Beden-Powell เป็นศาสตราจารย์ที่ออกซ์ฟอร์ด มารดาของท่านเป็นธิดาของพลเรือเอกดับ ที. สไมธ์ (W.T. Smyth) แห่งราชนาวีอังกฤษ ทวดของท่านคือ โจเซฟ บรูเออร์ สไมธ์ (Joseph Brewer Smyth) ได้อพยพไปอยู่อเมริกา ในนิวเจอร์ซี่แกต่ได้เดินทางกลับไปอังกฤษและเรือแตกในระหว่างที่เดินทางกลับถึงบ้าน ฉะนั้นเบเดน-โพเอลล์ จึงเป็นผู้สืบสันดานผู้ที่เป็นพระสายหนึ่ง และของผู้อพยพที่กล้าผจญภัยในโลกใหม่อีกสายหนึ่ง
บี.พี.เมื่อเป็นเด็ก
บิดาของ บี.พี.ถึงแก่กรรมเมื่อ บี.พี.มีอายุประมาณ 3 ปี ทิ้งมารดาของ บี.พี. ไว้พร้อมด้วยบุตร 7 คน ซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบสี่ปี มักจะมีเวลาเดือนร้อยบ่อยๆ สำหรับครอบครัวใหญ่นั้นแต่ความรักร่วมกันของมารดาที่มีต่อบุตร และของบุตรที่มีต่อมารดาได้ทำให้ครอบครัวนี้สามารถฟันฝ่าอุปสรรคไปได้ บี.พี.ได้ดำรงชีวิตกลางแจ้งอย่างสนุกสนานกับพี่น้องสี่คนของเขา โดยได้เดินทางไกลและไปพักแรมร่วมกันตามที่ต่างๆ ในประเทศอังกฤษหลายแห่ง ในปี ค.ศ. 1870 บี.พี. ได้เข้าเรียนในโรงเรียนชาร์ตเตอร์เฮาส์ในกรุงลอนดอน โดยได้รับทุนเล่าเรียน ท่านไม่ใช่คนเก่งทางหนังสือมากนัก แต่ทานก็เป็นคนที่สนุกสนานที่สุดคนหนึ่ง เมื่อมีอะไรในสนามของโรงเรียน ท่านจะอยู่ในกลุ่มนั้นเสมอ และในไม่ช้าก็เป็นที่รู้จักกันว่าท่านเป็นผู้รักษาประตูฝีมือดีในชุดฟุตบอลของโรงเรียนชาร์เตอร์เฮาส์ ความสามารถของท่านในทางละครได้รับความนิยมจากเพื่อนนักเรียนเป็นอันมาก เมื่อได้รับคำเรียกร้องท่านก็สามารถเสนอการแสดงซึ่งทำให้คนทั้งโรงเรียนหัวเราะกันจนท้องคัดท้องแข็ง เล่ห์เหลี่ยมการซุ่มตามจับสัตว์ซึ่ง บี.พี.ได้ฝึกฝนทีในป่ารอบๆ โรงเรียนชาร์เตอร์เฮาส์กลายเป็นคุณประโยชน์แก่เขาที่ในอินเดีย และแอฟริกา ท่านชอบดนตรีด้วย และคุณสมบัติพิเศษของท่านในการเขียนภาพร่าง ทำให้ท่านสามารถเขียนภาพประกอบหนังสือของท่านเองในภายหลัง ไปหัวข้อด้านบน

บี.พี. ในอินเดีย
พออายุ 19 ปี บี.พี. ก็จบจากโรงเรียน และยอมรับโอกาสที่จะไปอินเดียทันทีโดยได้รับยศเป็นร้อยตรีในกองทหาร ซึ่งอยู่ในปีกขวาของแถวทหารม้าที่บรรยายไว้ในคำกลอนที่มีชื่อเสียง "Charge of the Light Brigade" ในสงครามไครเมีย นอกจากจะได้ปฏิบัติหน้าที่ทางทหารอย่างดีเด่นแล้ว ท่านได้รับยศร้อยเอก เมื่อายุ 26 ปี ท่านยังได้รับรางวัลสำหรับการแข่งขันกีฬาทั่วประเทศอินเดียที่มีผู้อยากได้มากที่สุดคือ การแข่งขันแทงหมู "Pig sticking" ซึ่งเป็นการล่าหมูป่าบนหลังม้าโดยมีหอกสั้นเล่มเดียวเป็นอาวุธ ซึ่งอันตรายมากเพราะหมูป่าถูกให้คำนิยามว่าเป็น "สัตว์ชนิดเดียวเท่านั้นที่กล้ากินน้ำแห่งเดียวกับเสือ"บี.พี. ในอินเดีย
พออายุ 19 ปี บี.พี. ก็จบจากโรงเรียน และยอมรับโอกาสที่จะไปอินเดียทันทีโดยได้รับยศเป็นร้อยตรีในกองทหาร ซึ่งอยู่ในปีกขวาของแถวทหารม้าที่บรรยายไว้ในคำกลอนที่มีชื่อเสียง "Charge of the Light Brigade" ในสงครามไครเมีย นอกจากจะได้ปฏิบัติหน้าที่ทางทหารอย่างดีเด่นแล้ว ท่านได้รับยศร้อยเอก เมื่อายุ 26 ปี ท่านยังได้รับรางวัลสำหรับการแข่งขันกีฬาทั่วประเทศอินเดียที่มีผู้อยากได้มากที่สุดคือ การแข่งขันแทงหมู "Pig sticking" ซึ่งเป็นการล่าหมูป่าบนหลังม้าโดยมีหอกสั้นเล่มเดียวเป็นอาวุธ ซึ่งอันตรายมากเพราะหมูป่าถูกให้คำนิยามว่าเป็น "สัตว์ชนิดเดียวเท่านั้นที่กล้ากินน้ำแห่งเดียวกับเสือการรบในแอฟริกา
ในปี ค.ศ. 1887 เราพบ บี.พี. ในแอฟริกามีส่วนร่วมในการรบกับพวกซูลู และในตอนหลังก็ได้รบกับพวก อาซันติ (Ashanti) ที่ดุร้าย และพวกมาตาบีลี (Matabele )ที่ป่าเถื่อน ชาวพื้นเมืองกลัวท่านมาก จนถึงกับตั้งชื่อท่านว่า "อิมปิซ่า" (Impeesa) แปลว่า "หมาป่าซึ่งไม่เคยหลับนอน" (The wolf that never sleeps) ทั้งนี้เพราะความกล้าหาญของท่าน และทักษะของท่านในการสอดแนมกับความสามารถอย่างมหัศจรรย์ของท่านในเรื่องการสะกดรอย การเลื่อนยศของท่าน แทบจะเป็นไปโดยอัตโนมัติ กล่าวคือ ท่านได้เลื่อนยศเป็นประจำ จนกระทั่งท่านได้ย่างเข้าสู่ความมีชื่อเสียงในทันทีทันใด เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1899 และ บี.พี. ได้เลื่อนยศเป็นพันเอก ความยุ่งยากกำลังตั้งเค้าในแอฟริกาใต้ ความสำพันธ์ระหว่างอังกฤษกับรัฐบาลของทรานสวาลรีปับลิกได้ถึงจุดระเบิด เบเดน-โพเอลล์ ได้รับคำสั่งให้จัดทหารม้าถือปืน (Mounted rifles) สองกองพันและเดินทางไปที่มาฟอีคิง ซึ่งเป็นเมืองในใจกลางของแอฟริการใต้ "ผู้ใดยึดมาฟอีคิงไว้ได้ ผู้นั้นย่อมถือบังเหียนของแอฟริกาใต้" เป็นคำกล่าวของชาวพื้นเมืองซึ่งปรากฏว่าเป็นความจริงการล้อมเมืองมาฟอีคิง (The siege of mafeking)
สงครามเกิดขึ้นและเป็นเวลา 217 วันตั้งแต่ 13 ตุลาคม ค.ศ. 1899 บี.พี. ได้รักษาเมืองมาฟอีคิงให้พ้นจากเงื้อมมือของข้าศึก ซึ่งตั้งล้อมอยู่และมีจำนวนมากกว่าอย่างมากมายไว้ได้ จนกระทั้งในที่สุดกองทหารที่มาช่วยได้บุกเข้าไปช่วยเหลือเป็นผลสำเร็จ เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ.1900 บริเตนใหญ่รู้สึกอึดอัดใจตลอดระยะเวลานานเป็นเดือนๆ เหล่านี้ เมื่อในสุดมีข่าวว่า "มาฟอีคิง" พ้นจากการถูกล้อมแล้ว" คนอังกฤษก็ตื่นเต้นยินดีอย่างเป็นบ้า จนเป็นคำที่คนอังกฤษใช้กันเกี่ยวกับการเฉลิมฉลอง ในตอนนั้น บี.พี.ได้เลื่อนยศเป็นพลตรี และได้พบว่าตัวท่านเองได้รับการยกย่องให้เป็นวีรบุรุษในสายตาของเพื่อนร่วมชาติของท่านกำเนิดของการลูกเสือ
บี.พี.ได้เดินทางกลับจากแอฟริกาใต้ไปอังกฤษ ใน ค.ศ.1901 ในฐานะวีระบุรุษของทั้งผู้ใหญ่และเด็ก ท่านได้รับเกียรติมากมายหลายประการ และได้ค้นพบด้วยความแปลกประหลาดใจว่า ความมีชื่อเสียงส่วนตัวของท่านได้ทำให้หนังสือของท่านที่แต่งไว้สำหรับการทหารชื่อ Aids to Scouting ได้พลอยมีชื่อเสียงไปด้วย มีผู้เอาหนังสือนั้นไปใช้เป็นแบบเรียนในโรงเรียนชายต่างๆ บี.พี.มองเห็นการท้าทายที่สำคัญในเรื่องนี้ ท่านหลับตามองเห็นโอกาสของท่านที่จะช่วยเด็กชายอังกฤษให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่แข็งแรง ถ้าหนังสือสำหรับผู้ใหญ่เกี่ยวกับการปฏิบัติในการสอดแนมเป็นที่ถูกใจเด็ก และเร้าใจเด็กก็เป็นของแน่ว่าหนังสือที่เขียนขึ้นสำหรับเด็กเอง ก็คงจะก่อให้เกิดผลที่กว้างขวางยิ่งขึ้น ท่านเริ่มทำงานโดยคิดดัดแปลงจากประสบการณ์ของท่านในอินเดีย และในแอฟริกาเมื่อท่านอยู่กับพวกซูลูและคนพื้นเมืองเผ่าอื่น ท่านจัดทำห้องสมุดพิเศษขึ้น และอ่านหนังสือเกี่ยวกับการฝึกอบรมเด็กทุกยุคทุกสมัย นับตั้งแต่เด็กสปาตานคนอังกฤษในสมัยโบราณ พวกอินเดียนแดง จนถึงสมัยเรา บี.พี.ได้พัฒนาความคิดเห็นในเรื่องการลูกเสืออย่างช้าๆ และด้วยความระมัดระวัง ท่านต้องการทำให้แน่ใจว่า ความคิดเห็นของท่านอาจนำมาใช้ได้ ในทางปฏิบัติ ดังนั้นในฤดูร้อนของปี ค.ศ. 1970 ท่านจึงรวบรวมเด็กยี่สิบคนให้ไปอยู่กับท่านที่เกาะบราวน์ซี (Brownsea) ในช่องแคบอังกฤษ ซึ่งนับว่าเป็นการอยู่ค่ายพักแรมของลูกเสือครั้งแรกซึ่งโลกได้เคยเห็นการอยู่ค่ายครั้งนี้ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น